จัดทำโดยนายพลวัต เทพศร รหัสนักศึกษา6031280058

Power Supply



พาวเวอร์ซัพพลาย หรือที่เรียกกันในภาษาชาวบ้านว่า ตัวจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่ออุปกรณ์เกือบทุกตัวในระบบคอมพิวเตอร์พาวเวอร์ซัพพลายของคอมพิวเตอร์ โดยจะติดไว้ที่ด้านหลังมุมบนของ CPU เคส มีลักษณะการทำงาน คือ ทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจาก 220 โวลต์ เป็น 3.3 โวลต์, 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ ตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์นั้นๆ โดยชนิดของพาวเวอร์ซัพพลาย ในคอมพิวเตอร์จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดตามเคส คือ แบบ AT และแบบ ATX เรามาดูกันค่ะ ว่าสองอย่างนี้มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
AT นั้นจะเป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้กันเมื่อประมาณ พ.ศ. 2539 โดยจะมีปุ่มเปิด – ปิดการทำงาน เป็นการต่อตรงกับแหล่งจ่ายไฟ ทำให้เกิดปัญหากับอุปกรณ์บางตัว เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือซีพียู ที่ต้องอาศัยไฟในชั่วขณะหนึ่ง ก่อนที่จะเปิดเครื่อง (วิธีดูง่ายๆว่าเป็น AT หรือไม่ให้สังเกตุที่สวิตช์ค่ะเพราะ AT จะมีสวิตซ์ เปิด-ปิด จากพาวเวอร์ซัพพลายติดมาให้ด้วย)
ATX เป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้ในปัจจุบัน โดยมีการพัฒนามาจาก AT โดยเปลี่ยนปุ่มปิด – เปิด ต่อตรงกับส่วนเมนบอร์ดก่อน เพื่อให้ยังคงมีกระแสไฟหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ก่อนที่จะปิดเครื่องทำให้ลดอัตราการเสียหายของอุปกรณ์ลงโดยมีรุ่นต่างๆแยกย่อยออกมา ดังนี้
2.01 แบบ PS/2 ใช้กับคอมพิวเตอร์ทั่วๆไปที่ใช้ตัวถังแบบ ATX สามารถใช้ได้กับเมนบอร์ดแบบ ATX และ Micro ATX
2.03 แบบ PS/2 ใช้กับคอมพิวเตอร์แบบ Server หรือ Workstation ที่ใช้ตัวถังแบบ ATX (สังเกตว่าจะมีสายไฟเพิ่มอีกหนึ่งเส้น ที่เรียกว่า AUX connector)
2.01 แบบ PS/3 ใช้กับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตัวถังแบบ Micro ATX และเมนบอร์ดแบบ Micro ATX เท่านั้น
หลักการทำงาน

การคำนวณวัตต์


ขั้วต่อ
PSU ทุกวันนี้ก็มีกันทั้งรุ่นที่ถอดสายได้ (จะนิยมเรียกว่า PSU แบบถอดสายได้ว่า "Modulars" )
และถอดสายไม่ได้ในรุ่นที่ต้นทุนไม่สูง มีหัว Connectors สีแตกต่างกันออกไป แต่หลักๆจะมี Connector มาให้เหมือนๆกัน
ได้แก่ ATX 24PIN , 4+4 หรือ 8Pin , 6PIN PCIe ,6+2PIN PCIe , 8 PIN PCIe , SATA , Molex และ FDD เป็นต้น






การติดตั้ง Power supply

- เลือกเคสที่กว้างเข้าไว้  หรือจะเป็นเคสที่มีการติดตั้งเพาเวอร์ซัพพลายอยู่ด้านล่างของเคส  ซึ่งจะปลอดภัยมากครับ  เหตุเพราะหากเป็นเคสที่มีความกว้างแล้ว  ก็จะมีช่องทางมากพอที่จะให้เราเลื่อน เคลื่อนไหว  หรือขยับเพาเวอร์ซัพพลายและมือของเราได้ง่าย  ไม่ต้องขยับมากก็ได้ที่  ปัจจุบันเคสแบบ  Medium Tower  พื้นที่ดังกล่าวจะไม่ถูกปิดกั้นด้วยอุปกรณ์ใดๆ  ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่โล่ง จะมีก็แต่เพียงสายสัญญาณเท่านั้นเอง  เมื่อจัดเก็บเข้าที่ดีๆ ก็แทบจะทำให้เราไม่ต้องกังวลเลยว่า  เพาเวอร์ซัพพลายตัวโปรดของเราจะเป็นรอยอีกด้วย
- ถ้าเลือกเคสที่กว้างไม่ได้จริงๆ หรือเป็นเคสเดิมที่ใช้อยู่แล้ว  ก็ให้เซฟด้วยการติดกระดาษกาวที่มุมและขอบต่างๆ  ของเพาเวอร์ซัพพลายและติดที่ส่วนต่างๆ ขอบที่อยู่ภายในเคสด้วย  ซึ่งไม่ต้องกังวลเลยว่าจะมีคราบของกาวเหนียวๆ  ติดที่เคส หรือติดที่เพาเวอร์ซัพพลายตัวโปรดของคุณ  เพราะหากเลือกกระดาษกาวดี  อาจจะใช้กระดาษกาวแบบ  Nitto  ที่ใช้ในงานศิลป์ก็ได้  โดยติดตามขอบและมุมต่างๆ ทั้งตัวของเพาเวอร์ซัพพลายเอง และภายในของเคสที่คาดว่าใกล้จุดที่ติดตั้งเพาเวอร์ซัพพลาย  หรือใช้เทพใสคุณภาพดีหน่อย  ติดที่ขอบมุมเพื่อป้องกันการกระแทกด้วยก็ได้เช่นกัน  เมื่อติดตั้งเพาเวอร์ซัพพลายเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ให้แกะออกครับ
- ดูตามความเหมาะสมของเคส  ซึ่งบางรุ่นควรที่จะติดตั้งเพาเวอร์ซัพพลายเข้าไปก่อน แล้วค่อยติดตั้งอุปกรณ์ชิ้นอื่นตามทีหลัง  เพราะบางครั้งเคสที่มีขนาดเล็ก  การที่จะจับเพาเวอร์ซัพพลายเข้าไปหลังสุดนั้น คงไม่ดีแน่ๆ  เพราะนอกจากจะติดทั้งอุปกรณ์และสายที่จัดไว้ ทำให้ไม่สะดวกในการติดตั้งแน่นอน  แต่บางรุ่นการติดตั้งเพาเวอร์ซัพพลายทีหลังสุดก็จะปลอดภัยกว่า  เช่นเคสที่มีพื้นที่ติดตั้งเหลือพอ  รวมไปถึงเพาเวอร์ซัพพลายที่สามารถถอดสายได้  การติดตั้งทีหลังจะช่วยให้การจัดเก็บสายภายในเคสทำได้ง่ายยิ่งขึ้น  ไม่จำเป็นต้องต่อใช้ทุกเส้น ต่อเฉพาะเส้นที่ใช้เท่านั้น
- ถ้ามีอุปกรณ์ใดที่จะช่วยให้การติดตั้งเพาเวอร์ซัพพลายนั้นง่ายขึ้น  ก็ควรที่จะประกอบเข้าไปด้วย  เช่น ขอบยางกันรอย  ซึ่งมักจะมีมาให้พร้อมกับเพาเวอร์ซัพพลายราคาสูงส่วนใหญ่  ถ้าไมอยากให้เกิดริ้วรอยแต่เพาเวอร์ซัพพลาย ก็ควรจะติดตั้งลงไปก่อน
ก็เป็นเคล็ดเล็กๆ น้อยๆ ที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เพาเวอร์ตัวโปรดของคุณเป็นรอย  เพราะถ้ากับเคสที่ต้องการโชว์ภายในด้วยแล้ว การที่อุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งเกิดมีริ้วร้อยฝากไว้อยู่  คงไม่น่าดูเท่าไรใช่มั้ยคับ
 


การตรวจเช็คว่า Power supply ว่าเสียหรือไม่
วิธีตรวจเช็ค Power Supply
เมื่อมีอาการเปิดคอมพิวเตอร์ไม่ติด Power Supply เป็นสิ่งแรกๆที่เราควรจะตรวจเช็คว่าทำงานไหมปกติหรือไม่ Power Supply ที่อยู่ในสภาพไม่พร้อมใช้งาน อาจจะให้อุปกรณ์อื่นๆในคอมพิวเตอร์เสียหายได้ โดยเฉพาะ Harddisk ดังนั้นการหมั่นตรวจสอบสภาพของ PowerSupply อยู่เสมอ ถ้าพบว่าเสียหายควรซ่อมแซมหรือเปลี่ยนตัวใหม่วันนี้ผมจะสอนการตรวจเช็ค Power Supply เบื้องต้น เป็น Power Supply แบบ ATX (แบบที่ใช้ในปัจจุบัน) แค่ให้รู้ว่ามันทำงานอยู่ไหม เพราะบางทีที่คอมเปิดไม่ติดเลยอาจจะเพราะขั้วต่อเข้าเมนบอร์ดหลวมก็เป็นไปได้ วิธีการตรวจสอบง่ายๆ แบบเบื้องต้นนี้จะดูแค่ว่าไฟเข้าไหม ถ้าไฟเข้าพัดลมด้านหลังจะหมุน
ขั้นตอนการตรวจเช็ค Power Supply คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
1.ถอดปลั๊กไฟ
2.เปิดฝาเคสด้านข้างออก
3.ถอดขั้วคอนเน็คเตอร์ที่ต่อเข้าเมนบอร์ด
4.ขั้วที่มีสายไฟเยอะๆ) ออก
5.มองสายไฟสีเขียวและสีดำ
6.ใช้ลวดหรือสายไฟต่อระหว่างสายไฟสีเขียวและสีดำ
7.เสียบปลั๊กไฟเข้า Power Supply
8.สังเกตดูที่พัดลมว่าหมุนไหม
9.ถ้าพัดลมหมุนแสดงว่า Power Supply อาจจะยังใช้งานได้ปกติ ให้ไปตรวจเช็คการเสียบขั้วต่อหรือเมนบอร์ดแต่ ถ้าพัดลมไม่หมุน แสดงว่า Power Supply ไม่ทำงานแน่นอน


Harddisk
ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) คืออุปกรณ์ชิ้นหนึ่ง ที่เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลระบบปฏิบัติการณ์ต่างๆ ที่ใช้ขับเคลื่อนคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆ หรือข้อมูลในรูปแบบของโปรแกรมประยุกต์ หรือแฟ้มงานต่างๆ ล้วนถูกเก็บรักษาเอาไว้ในฮาร์ดดิสก์นี่เอง ดังนั้นจึงบอกได้เลยว่า ฮาร์ดดิสก์ เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นและสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งเลยทีเดียวก็ว่าได้ ถ้าจะพูดให้เห็นภาพก็คงต้องเทียบว่า ฮาร์ดดิสก์คือสมองส่วนความทรงจำของคอมพิวเตอร์นั่นเอง สำหรับวันนี้เราจะพาไปดูการทำงานและส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์กัน
หัวอ่าน (Head) เป็นส่วนหนึ่งของแขนหัวอ่าน ซึ่งเจ้าหัวอ่านตัวนี้สร้างจากขดลวด เพื่อใช้อ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนแผ่นแม่เหล็ก โดยการรับคำสั่งจากตัวคอนโทรลเลอร์ ก่อนเกิดความเหนี่ยวนำทางแม่เหล็ก และไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสนามแม่เหล็ก และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลนั่นเอง
แขนหัวอ่าน (Actuator Arm) มีลักษณะเป็นแท่งเหล็กยาวๆ ซึ่งสามารถรับคำสั่งจากวงจรให้เลื่อนไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้ ไม่ว่าจะเป็นอ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนแผ่นแม่เหล็ก โดยต้องทำงานร่วมกับหัวอ่าน
จานแม่เหล็ก (Platters) มีลักษณะเป็นจานกลมๆ เคลือบด้วยสารแม่เหล็กวางซ้อนกันหลายๆ ชั้นขึ้นอยู่กับความจุ เจ้าสารแม่เหล็กที่เองที่เป็นข้อมูลต่างๆ ของเรา โดยข้อมูลนั้นจะถูกบันทึกในลักษณะของเลข 0 และ 1 แผ่นแม่เหล็กนั้นติดกับมอเตอร์สำหรับหมุน (Spindle Motor) และสามารถเก็บข้อมูลได้ทั้ง 2 ด้าน
มอเตอร์หมุนแผ่นแม่เหล็ก (Spindle Motor) เป็นตัวควบคุมจานแม่เหล็กให้หมุนไปยังตำแหน่งที่ต้องการเพื่อบันทึก หรือแก้ไขข้อมูล ปกติมักมีความเร็วในการหมุนประมาณ 7200 รอบต่อนาที แต่ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมทำให้ตัวมอเตอร์มาสามารถเพิ่มความเร็วได้ถึง 1 หมื่นรอบต่อนาที
เคส (Case) หรือตัวกล่องสี่เหลี่ยม ซึ่งเป็นที่บรรจุส่วนต่างๆ ที่ใช้ในการทำงานของฮาร์ดดิสก์
ปัจจุบันฮาร์ดดิสก์สามารถแบ่งออกเป็นสี่ชนิดคือ
IDE เป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีการใช้เทคโนโลยีแบบเก่าคือจะมีขั้วต่อกับสายแพที่สามารถส่งผ่านข้อมูลได้แค่ 8.3 เม็กกะไบต์ต่อวินาทีเท่านั้น
SATA เป็นมาตรฐานฮาร์ดดิสก์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันสามารถส่งผ่านข้อมูลได้มากถึง 150 เม็กกะไบต์ต่อวินาที
E-IDE เป็นฮาร์ดดิสก์ที่พัฒนามาจาก IDE มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลได้ประมาณ 133 เม็กกะไบต์ต่อวินาที
SCSI เป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลราวๆ 320 เม็กกะไบต์ต่อวินาทีและมีความเร็วรอบในการหมุนจานประมาณ 1 หมื่นรอบต่อนาที นิยมใช้กันทั่วไปสำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ภายในองค์กรฮาร์ดดิสก์นั้นเป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อการทำงานของระบบทั้งระบบ ดังนั้นผู้ใช้งานจึงจำเป็นต้องดูแล และถนอมการใช้งานของฮาร์ดดิสก์เอาไว้ให้ดี ทั้งนี้เพราะเมื่อฮาร์ดดิสก์เกิดพังหรือเสียหายขึ้นมา ข้อมูลของเราก็จะพลอยสูญหายไปด้วยเช่นเดียวกันนั่นเอง
SSD (เอสเอสดี) ย่อมาจาก Solid State Drive

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ถูดพัฒนาให้มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ซึ่งฮาร์ดดิสกก็เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยในปัจจุบันได้มีฮาร์ดดิกส์ประเภทหนึ่งที่เข้ามาทดแทนฮาร์ดดิกส์แบบจานหมุน ซึ่งมีคุณสมบัติหลายอย่างที่ดีกว่าฮาร์ดดิกส์แบบจานหมุนที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ฮาร์ดดิกส์นี้มีชื่อเรียกว่า SSD
SSD คืออะไร
SSD ย่อมาจาก Solid state drive คืออุปกรณ์อิเล็กทรนิกส์ที่ทำหน้าที่เหมือนกับฮาร์ดดิกส์เพียงแต่หลักการทำงานนั้นแตกต่างจากฮาร์ดดิกส์รุ่นเก่า ซึ่งฮาร์ดดิกส์ SSD ถือได้ว่าเป็นฮาร์ดดิกส์รุ่นใหม่ที่กำลังมาแรงที่สุด โดยเราสามารถแบ่งฮาร์ดดิกส์ SSD ได้ 2 แบบด้วยกันคือ
1. NOR Flash จะมีการเรียงหน่วยความจำแบบขนานเพื่อให้เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลได้อย่างอิสระและรวดเร็ว เสียอย่างเดียวมีความจุต่ำและราคาแพงมาก
2. NAND Flash สามารถเข้าถึงข้อมูลแบบที่ละบล็อค แต่มีความจุสูงกว่าแบบแรก ซึ่งแบบนี้จะมีโครงสร้างและลักษณะการทำงานเหมือนกับ Flash Driver ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นเองโดยสามารถแบ่งออกได้อีก 2 แบบด้วยกัน คือ Single Level Cell(SLC) และ Multi-Level Cell (MLC)
SSD
ส่วนประกอบสำคัญของฮาร์ดดิกส์แบบ SSD นี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ ชิปหน่วยความจำ และ ชิปคอนโทรลเลอร์สำหรับควบคุมการทำงาน จากส่วนประกอบข้างต้นทำให้ฮาร์ดดิกส์แบบ SSD มีความสามารถในการอ่านข้อมูลที่รวดเร็วขึ้น และไม่มีเรื่องเสียงและความร้อนมากวนใจผู้ใช้งานเลย
SSD แตกต่างจากฮาร์ดดิสก์ทั่วไปอย่างไร
ความแตกต่างของฮาร์ดดิกส์แบบ SSD กับฮาร์ดดิกส์แบบ hard disk drive ที่เป็นฮาร์ดดิกส์แบบจานหมุนนั้นจะมีอยู่หลายอย่างซึ่งก็มีทั้งข้อดีแล้วข้อเสียด้วยกัน
ข้อดีของฮาร์ดดิกส์แบบ SSD
1. เวลาในการเตรียมพร้อมในการใช้งานและเวลาเรียกไฟล์จะมีความเร็วมากเพียงไม่กี่มิลลิวินาที เมื่อเทียบกับการทำงานของฮาร์ดดิกส์รุ่นจานหมุนที่มีการทำงานและเข้าถึงข้อมูลต้องใช้เวลาหลายวินาที
2. เรื่องเสียงรบกวนไม่มีเหมือนกับฮาร์ดดิกส์แบบจานหมุน
3. ทนต่อสภาพอากาศและแรงกระแทกมากกว่าฮาร์ดดิกส์จานหมุน
4. น้ำหนักเบากว่าแบบฮาร์ดดิกส์จานหมุน
5. เรื่องของอุณหภูมิความร้อนไม่มีปัญหาสำหรับฮาร์ดดิกส์ SSD
6. ฮาร์ดดิกส์แบบ SSD ไม่มีผลต่อสนามแม่เหล็ก
7. มีอายุการใช้งานที่ทนทานกว่า
ข้อเสียของฮาร์ดดิกส์แบบ SSD
1. มีราคาที่แพงกว่าฮาร์ดดิกส์แบบจานหมุน
2. มีความจุน้อย โดยเปรียบเทียบกันแล้วฮาร์ดดิกส์แบบ SSD จะต้องจ่ายเงิน 27 บาทต่อจิกะไบต์ ส่วนฮาร์ดดิกส์แบบจานหมุน จะต้องจ่ายเพียง 2.5 บาทต่อจิกะไบต์สำหรับฮาร์ดดิสก์ 3.5″และประมาณ 4 บาทต่อจิกะไบต์สำหรับฮาร์ดดิสก์ 2.5″
ประโยชน์ของ SSD มีอะไรบ้าง
ประโยชน์ของฮาร์ดดิกส์ SSD มีอยู่หลายอย่าง
1. มีน้ำหนักเบาและขนาดเล็กและมีความทนทาน ทำให้สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวกสบาย
2. เมื่อใช้งานฮาร์ดดิกส์ SSD จะมีสะดวกในการทำงานเพราะสามารถที่จะโอนถ่ายไฟล์ต่างๆได้เร็วทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งาน
ถึงแม้ว่าฮาร์ดดิกส์แบบ SSD จะมีความสามารถที่เหนือกว่าฮาร์ดดิกส์แบบจานหมุน แต่ในปัจจุบันฮาร์ดดิกส์แบบ SSD ก็ยังไม่เป็นที่นิยมใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซะเท่าไรเนื่องจากราคาที่สูงกว่าแบบฮาร์ดดิกส์จานหมุน แต่ในอนาคตมีการคาดการณ์ว่าราคาของ SSD จะต่ำลงและจะมาแทนฮาร์ดดิกส์แบบจานหมุนในที่สุด


Monitor
จอมอนิเตอร์หรือว่าจอภาพ  มีความสำคัญสำหรับการแสดงผลข้อมูลให้กับทางด้านสายตา  ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลอะไรก็ตามที่เราสามารถที่จะดูได้ทางจอภาพไม่ว่าจะเป็น  ภาพ  แสง  สี ตัวหนังสือ  ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ในการแสดงผลหลักเลยก็ว่าได้หากไม่มีก็ไม่สามารถที่จะตรวจสอบสถานะต่างๆได้  และด้วยการแสดงผลที่ต้องมีคุณภาพจึงมีเทคโนโลยีต่างๆ  ที่พัฒนาขึ้นจากที่เคยเป็นจอขาวดำเหมือนเมื่อก่อน  แต่ก็ได้เป็นสี  โดยทั่วไปแล้วจอภาพที่เราใช้อยู่มีหลายแบบ  ทั้ง CRT  LCD cและ LED ที่ถูกแบ่งเป็น 3 ประเภทด้วยกันมีคุณภาพที่แตกต่างกัน
crt-monitor

จอ CRT (Cathode Ray Tube)  เป็นจอรุ่นเก่ามากตั้งแต่เริ่มต้นเลย  เมื่อก่อนเราจะพบว่าเป็นขาวดำแต่ได้พัฒนามาเป็นสีสามารถที่จะเห็นรายละเอียดมากกว่าเดิม จอ CRT การทำงานเป็นเหมือนจอโทรทัศน์รุ่นเก่าที่มีขนาดใหญ่  มีด้านหลังที่ยื่นออกไปเพราะว่าใช้การฉายแสงอิเล็กตรอนของหลอดภาพในการแสดงผล  และในการยิงแสงแต่ละครั้งจำเป็นต้องใช้เวลาจึงทำให้เราเห็นภาพไม่นิ่งอาจจะดูเหมือนสั่นตลอดเวลา  และทำให้ปวดตาในที่สุด  โดยแสงที่เกิดขึ้นจะเป็นสี  แดง  เขียว  และ  น้ำเงิน  เกิดจากการผสมสีสามสีเหล่านี้จึงทำให้เกิดเป็นสีต่างๆ  บนจอภาพให้เราเห็น  สำหรับความละเอียดภาพนั้นมีหน่วยเป็น  พิกเซล  คือเป็นจุดของการแสดงผลหากมีจำนวนมากก็จะทำให้ภาพเรามีความชัดเจนมาก  เนื่องจากการทำงานดังกล่าวทำให้เกิดความร้อนและใช้พลังงานสูงมาก มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก และยังมีรังสีแผกระจายออกมาได้  จึงได้พัฒนาเทคโนโลยีมาใหม่  และยกเลิกการผลิตไปแล้ว  จึงไม่มีขายตามท้องตลาดหรือว่ามีเพียงแค่ของมือสองเท่านั้น
OriginalJPG
จอ LCD (Liquid Crystal Display)

  มีการใช้เทคโนโลยีแทนการใช้หลอดภาพซึ่งเมื่อก่อนราคาสูงมากแต่ปัจจุบันราคาถูกกว่าเดิมจึงสามารถที่จะมาแทนจอรุ่นเก่าได้  ในยุกแรกๆเราอาจจะเห็นผลิตไว้สำหรับคอมพิวเตอร์แบบกพพาจำพวกโน๊คบุ๊คเท่านั้นหรือว่าเมือถือ การทำงานโดยใช้ผลึกของเหลวกึ่งของแข็งในการแสดงภาพและใช้หลอดไฟในการส่องแสงสว่างให้กับจอออกมาจึงทำให้เราเป็นภาพต่างๆ  และด้วนเห็นนี้จึงสามารถที่จะมองเห็นด้วยความละเอียดกว่า  แต่เนื่องจากมีข้อจำกัด  อย่าเช่นการมองไม่ถูกมุมอาจจะทำให้สีที่เราเห็นนั้นผิดไปและไม่ชัดในบางมุมด้วย และอาจจะแสดงผลที่ช้ากว่าจอ CRT จึงมีการระบุความเร็วในการแสดงผลไว้กับรายละเอียดการเลือกซื้อด้วย  ระยะเวลาในการใช้งานมีข้อจำกัดด้วย  แต่ด้วยไม่มีรังสี  ใช้ความร้อนและพลังงานน้อยกว่า  และมีเทคโนโลยีในการรองรับการทำงานแบบใหม่  สามารถที่จะดูหนังได้สมจริง มีขนาดที่เล็ก  จึงทำให้ได้รับความนิยม
zoom_G610HDAL

จอ LED ที่ได้รับการพัฒนาต่อจาก LCD มีหลักการทำงานที่รูปแบบเดียวกันแต่ว่าใช้หลอด LED ที่เป็นหลดขนาดเล็กมาในการส่องแสงแทนการใช้หลอดไฟแบบ LCD จึงทำให้สามารถที่จะประหยัดไฟกว่าและความร้อนน้อยกว่า  และที่สำคัญสามารถที่จะสานต่อเทคโนโลยีได้มากกว่า  ปัจจุบันจึงมาแทนจอแบบ LCD มากกว่าจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันจะใช้จอภาพที่ทำจาก LED มากกว่า  และสามารถที่จะพัฒนาการเชื่อมต่อสัญญาณภาพแบบใหม่ที่ให้ความละเอียดสูง  และสามารถที่จะใช้งานในรูปแบบ 3 D ได้ด้วย
จะเห็นได้จอภาพเป็นส่วนที่สำคัญในการแสดงผลจึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้งานและควรที่จะเลือกให้เหมาะสมกับงานเพราะว่ามีขนาดและความละเอียดที่แตกต่างกัน  และเทคโนโลยีจึงทำให้มีคุณสมบัติเพิ่มเติมและรายละเอียดที่ต้องพิจารณามากขึ้นกว่าเดิม

Keyboard
Keyboard คืออุปกรณ์แป้นพิมพ์ที่ใช้ป้อนข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์ มีปุ่มเหมือนกับเครื่องพิมพ์ดีด เป็นอุปกรณ์ที่มีในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง จำนวนปุ่ม 101 ปุ่มขึ้นไป
คีย์บอร์ดนั้นจะ 1 ปุ่มจะมีตัวอักษรอยู่หลายตัว โดยปกติคีย์บอร์ดภาษาไทยก็จะมีภาษาอังกฤษปนอยู่ด้วยเพราะฉะนั้นใน 1 ปุ่มจะมี 3 ตัวอักษรและ 4 ตัวอักษรสำหรับปุ่นที่มีตัวเลขผสมอยู่ หลักการใช้งานปกติถ้าเราจะพิมพ์อักษรที่อยู่ข้างล่างของแป้น เราก็เพียงแค่กดลงไปเฉย ๆ แต่ถ้าต้องการพิมพ์อักษรที่อยู่ข้างบนของแป้นพิมพ์เราจำเป็นจะต้องกดปุ่ม Shift ค้างไว้ก่อนถึงจะพิมพ์ได้ หรือจะใช้ Shift Lock แทนการกด Shift ค้างก็ได้เช่นกัน แต่เมื่อจะกลับมาพิมพ์อักษรที่อยู่ข้างล้างหน้าลืมกดปลดล็อกด้วย
ประเภทของ keyboard มีอยู่ 5 แบบ
1. desktop keyboard เป็นคีย์บอร์ดมาตรฐานแบบ 101 ปุ่ม

2. desktop keyboard with hot key เป็นคีย์บอร์ดที่มีปุ่มพิเศษเพิ่มเข้ามามากกว่าแบบ
มาตรฐาน


3. wireless keyboard เป็นคีย์บอร์ดไร้สายเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านทางการเชื่อมต่อไร้สาย

4. security keyboard เป็นคีย์บอร์ดที่มีระบบรักษาความปลอยภัย

5. notebook keyboard เป็นคีย์บอร์ดขนาดเล็กและบาง

นอกเหนือจากแป้นปกติแล้วยังมีแป้นพิเศษที่มักจะอยู่แถวบนสุดของคีย์บอร์ด จะเป็นพวกปุ่ม F1-F12 หรือคีย์บอร์ดบางรุ่นจะมีปุ่มปรังเสียง ปุ่ม Play ปุ่ม Stop ให้เราใช้งานเพิ่มความสะดวกเพิ่มเข้ามาอีกด้วย ส่วนทางขวาของคีย์บอร์ดรุ่นใหญ่ ๆ จะมีปุ่มตัวเลข 0 - 9 แยกออกมาต่างหากเพื่อความสะดวกในการพิมพ์ตัวเลข

Mouse
เมาส์ (mouse) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการใช้งานในคอมพิวเตอร์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งออกแบบเพื่อให้พอดีกับการใช้งานโดยส่วนโค้งและส่วนเว้าโค้งเข้าตามกับอุ้งมือของผู้ใช้ โดยภายด้านใต้ของเมาส์จะมีอุปกรณ์ซึ่งตรวจจับการเคลื่อนไหวของเมาส์ โดยส่งสัญญาณไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงผลของเคอร์เซอร์บนหน้าจอคอมพิวเตอร์
1. Mechanical Mouse

กลไกภายในของเมาส์ลูกกลิ้งประกอบด้วย ลูกบอลยางที่มีน้ำหนักและแรงเสียดทานพอดี เมื่อทำการเลื่อนเมาส์ไปในทิศทางใดจะทำให้ลูกบอลเคลื่อนไปในทิศทางนั้น ซึ่งตัวลูกบอลจะกดแนบอยู่กับลูกกลิ้ง โดยแกนของลูกกลิ้ง จะต่อกับจานแปลรหัส (Encoder) ซึ่งบนจานจะมีหน้าสัมผัสเป็นจุดๆ ขึ้นอยู่กับความละเอียดของเมาส์ เมื่อจุดสัมผัสเลื่อนมาตรงแกนสัมผัส ก็จะสร้างสัญญาณบอกไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยลูกกลิ้งจะทำให้กลไกซึ่งทำหน้าที่ปรับแกนหมุนในแนวแกน x และแกน y แล้วส่งผลไปเลื่อนตำแหน่งตัวชี้บนจอภาพ
เมาส์ลูกกลิ้งถูกออกแบบมาให้มีโครงสร้างที่ง่าย มีรูปร่างที่พอเหมาะกับมือ และใช้งานได้สะดวก เนื่องจากสามารถนำเมาส์ลูกกลิ้งไปใช้ได้ทุกที่ แต่ควรใช้กับแผ่นรองเมาส์ที่เป็นพื้นผิวเรียบ ส่วนลูกกลิ้งนั้นต้องออกแบบมาให้กลิ้งได้ง่าย ไม่ลื่นไถลมาก สามารถควบคุมความเร็วได้อย่างต่อเนื่องสัมพันธ์ระหว่างทางเดินของเมาส์และจอภาพ
2. Optical-Mechanical Mous

เมาส์ประเภทนี้มีกลไกการทำงานคล้ายกับเมาส์ลูกกลิ้ง เพียงแต่ตัวตรวจรับการเคลื่อนที่ของจาน Encoder นั้นใช้เป็น LED โดยบนจานถูกเจาะรูรอบๆ ในด้านหนึ่งของจานไว้คอยกำเนิดแสง และอีกด้านหนึ่งจะมีทรานซิสเตอร์ไวแสงไว้คอยตรวจจับแสงแทนการใช้การสัมผัส
3. Optical Mouse

เมาส์แบบใช้แสง เป็นเมาส์ที่พัฒนามาจากเมาส์ลูกกลิ้ง ซึ่งเมาส์ลูกกลิ้งมีจุดด้อยอยู่ตรงที่มีขีดจำกัดในการทำงานที่ต้องใช้งานบนพื้ผิวที่เรียบ และความรวดเร็วในการใช้งานที่ช้า อีกทั้งยังมีความละเอียดต่ำ ทำให้มีการพัฒนาขึ้นมาเป็นเมาส์แบบใช้แสง
การการทำงานของเมาส์ประเภทนี้ อาศัยหลักการส่งแสงจากเมาส์ลงไปบนแผ่นรองเมาส์ชนิดพิเศษ ซึ่งมีผิวมันสะท้อนแสง และเป็นตารางตามแนวแกน X  และ Y โดยแกนหนึ่งเป็นสีน้ำเงิน อีกแกนเป็นสีดำ ตัดกันไว้คอยตรวจจับการเคลื่อนที่ ซึ่งบนเมาส์ จะมี LED 2 ตัวให้กำเนิดแสงออกมา 2 สี คือ สีดำและสีน้ำเงิน LED ที่กำเนิดแสงสีดำจะดูดกลืนแสงสีน้ำเงิน LED ที่กำเนิดแสงสีน้ำเงิน จะดูดกลืนแสงสีดำ ซึ่งตัวตรวจจับแสงเป็นทรานซิสเตอร์ไวแสง สีที่ตรวจจับได้จะบอกทิศทาง ส่วนช่วงของแสงที่หายไปจะบอกถึงระยะทางการเคลื่อนที่
ข้อดีของเมาส์ประเภทนี้ คือ ทำให้ตัดปัญหาการเคลื่อนที่ที่ไม่คล่องตัวของเมาส์ อันเนื่องจากมีฝุ่นผงเกาะติดลูกบอลยางมากต้องถอดออกมาทำความสะอาดลูกบอลยางบ่อยๆ ดังนั้นเมาส์ประเภทนี้จึงสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างสะดวก มีความถูกต้องของตำแหน่งที่ต้องการให้เคลื่อนที่ไปสูง และสามารถจะเคลื่อนเมาส์บนวัสดุอะไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้แผ่นรอง
4. Wireless mouse

เมาส์ไร้สายเป็นเมาส์ที่ทำงานด้วยกลไกแบบลูกกลิ้งหรือแบบแสงก็ได้ เพียงแต่ไม่มีสายต่อเท่านั้น เพราะจะใช้การส่งสัญญาณผ่านตัวรับไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์แทนที่จะผ่านทางสายโดยตรง ซึ่งการพัฒนาเมาส์ไร้สายในช่วงแรกจะอาศัยเทคโนโลยีอินฟราเรด แต่ต่อมามีการพัฒนาไปใช้เทคโนโลยีคลื่นวิทยุ ทั้งนี้เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีอินฟราเรดนั้นมีข้อจำกัดในเรื่องการส่งรับสัญญาณ เครื่องส่งและเครื่องรับจะต้องอยู่ในแนวทิศทางเดียวกันและห้ามมีอุปกรณ์ใดๆ ขวางแนวการรับ-ส่งของคลื่น โดยเด็ดขาด แต่สำหรับเมาส์ที่ใช้เทคโนโลยีความถี่คลื่นวิทยุนี้จะไม่มีปัญหาในเรื่องดังกล่าว ทำให้การใช้งานเมาส์มีความสะดวกมากขึ้นและใช้งานได้ในรัศมีความสะดวกมากขึ้น และใช้งานได้ในรัศมีที่กว้างขึ้น เนื่องจากคลื่นวิทยุสามารถทะลุผ่านอุปกรณ์กีดขวางใดๆ ได้ แต่จะต้องมีการติดตั้งเครื่องรับสัญญาณเพิ่มเติมที่เครื่องคอมพิวเตอร์
ข้อดีของเมาส์ประเภทนี้ คือ สามารถเลื่อนเมาส์ได้ในระยะที่อยู่ห่างจากคอมพิวเตอร์มากขึ้น เนื่องจากไม่มีสายเป็นตัวกำหนดขอบเขตการทำงานอีกต่อไป
5. Laser  Mouse

เมาส์เลเซอร์ เกิดจากการคิดค้นและพัฒนาของ Logitech ซึ่งถือได้ว่าเป็นเจ้าแรก ที่ผลิตเมาส์เลเซอร์ออกมา จุดน่าสนใจของเมาส์เลเซอร์อย่างแรกคือ ความแม่นยำ และการตอบสนองความต้องการของเมาส์ขณะทำงานที่ทำได้เร็วกว่าเมาส์แบบใช้แสง เพราะเมาส์แบบใช้แสง ใช้หลอด LED เป็นตัวปล่อยแสง ซึ่งแสงที่ได้จากหลอด LED นั้นเป็นเพียงหลอดไฟหลอดหนึ่งเท่านั้นการเดินทางของแสง ความแม่นยำ ความรวดเร็วในการทำงานย่อมด้อยกว่าเมาส์เลเซอร์ ที่ใช้แสงเลเซอร์เป็นตัวรับ-ส่งข้อมูลแทนแสงจากหลอด LED ข้อดีอีกข้อหนึ่งของเมาส์เลเซอร์ คือ การใช้งานบนพื้นผิวที่มีความมัน หรือไม่เรียบ พื้นไม้ ปกหนังสือ หน้าปกนิตยสาร ได้ค่อนข้างดี สะดวกกว่าเมาส์ออปติคพอสมควร แต่ข้อเสียของเมาส์ตระกูลที่ใช้แสงไม่ว่าจะเป็นเมาส์เลเซอร์ หรือเมาส์ออปติค คือ ไม่สามารถใช้งานบนพื้นผิวที่สามารถสะท้อนแสงได้
6. Blue Track Mouse

เมาส์บลูแทร็ค เมาส์รุ่นใหม่ล่าสุดพัฒนาโดย Microsoft ซึ่งขณะนี้ถือเป็นเทคโนโลยีการผลิตเมาส์ที่ทันสมัยที่สุดในโลก ซึ่งคุณสมบัติของเทคโนโลยีนี้ใช้ลำแสงสีน้ำเงินแทนการใช้แสงสีแดงที่ใช้ในเมาส์เลเซอร์ทั่วๆ ไป สามารถทำให้เมาส์ใช้งานได้บนทุกๆ พื้นผิว ไม่ว่าจะเป็นบนพรม ไม้ หรือพื้นผิวขรุขระก็ตาม และในเมาส์ปกตินั้นจะมีการส่งลำแสงเลเซอร์ออกมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อวางบนพื้นผิวที่สกปรกหรือมีฝุ่น ก็จะขัดขวางการส่งสัญญาณข้อมูล ทำให้การทำงานผิดพลาดได้ง่าย แต่การส่งลำแสงเลเซอร์ของเมาส์บลูแทร็คนี้ เป็นแบบไม่ต่อเนื่อง ดังนั้น มันจึงไม่อ่อนไหวต่อพื้นผิวที่มีฝุ่น และสามารถส่งข้อมูลได้อย่างมีคุณภาพ 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://sites.google.com/site/itkonruk/xithi-thawpi/meas-mouse
http://mantiser.blogspot.com
http://www.เกร็ดความรู้.net
http://www.mindphp.com

 
 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เครื่องพิมพ์แบบต่างๆ

เครื่องฉายแสงโปรเจคเตอร์