หน่วยที่ 5
จัดทำโดยนายพลวัต เทพศร รหัสนักศึกษา6031280058
 หน่วยความจำ กราฟิกการ์ด

จงเขียนบทความบล็อกเกอร์แสดงความรู้ ในหัวข้อดังนี้
1. จงอธิบายคำศัพท์เกี่ยวกับหน่วยความจำ
1.1. Computer memory
คือ อุปกรณ์เก็บสถานะข้อมูลและชุดคำสั่งเพื่อการประมวลผลของคอมพิวเตอร์หน่วยความจำแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ
-หน่วยความจำหลัก หรือหน่วยความจำภายใน (Primary Memory, Internal Memory) คือ เป็นหน่วยความจำ ที่ใช้เก็บ โปรแกรมข้อมูล ผลลัพธ์ ไว้ภายในเครื่องมี 2 ชนิด
1.2. ROM
Read Only Memory : ROM  เป็น หน่วยความจำที่บริษัทผู้ผลิตได้เขียนบันทึก ไว้อย่างถาวรแม้ทำการปิดเครื่องก็จะไม่ถูกลบไปเป็นหน่วยความจำที่คอมพิวเตอร์สามารถอ่านข้อมูลได้เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกข้อมูลลงไปในหน่วยความจำชนิดนี้ได้
1.3. RAM
Random Access Memory : RAM เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูลและโปรแกรม  ซึ่งสามารถเปลี่ยนแแปลง และเรียกใช้ได้ตลอดเวลาตราบเท่าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ยังเปิดใช้งานอยู่ และจะถูกลบหายไปเมื่อเครื่องปิด-หน่วยความจำสำรอง หรือหน่วยความจำภายนอก (Secondary Memory or External Memory)เป็นหน่วยความจำที่มิได้ติดอยู่กับเครื่องตลอดเวลาสามาถเคลื่อนย้ายไปมาได้ มีราคาถูกสามารถเก็บข้อมูลได้มากที่นิยมใช้ปัจจุบันเป็นประเภทของ Diskette 3.5 นิ้ว(ความจุ1.44 MB.) แผ่น Compact Disc: CD(ความจุ 650 MB.) ซึ่งCompact Disc นี้กำลังเริ่มได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเนืาองจากสามารถเขียนและอ่านได้เป็นอย่างดีจึงสามารถทำงานได้เทียบกับหน่วยความจำหลัก
1.4. SD RAM
SDRAM คือหน่วยความจำแรมที่พัฒนามาจาก DRAM เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับระบบบัสความเร็วสูงได้ โดยบริษัท Samsung เป็นผู้ พัฒนาขึ้นมาในปี ค.ศ.1993 ซึ่งหน่วยความก่อนหน้านี้ใช้ระบบบัสแบบอะซิงโครนัส นั่นหมายถึงจังหวะการทำงานของ CPU กับหน่วยความจำใช้ สัญญาณนาฬิกาคนละตัว จังหวะการทำงานที่ไม่ซิงโครไนซ์กันจึงเป็นปัญหา เพราะเทคโนโลยี CPU ต้องการความเร็วและมีการสร้างระบบบัสมาตรฐานขึ้น มาตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์ แบบ TSOP (Thin Smail Outine Package) ติดตั้งอยู่บนแผงโมดูล แบบ DIMM (Dual Inline Memory Module) ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาน 2 ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 168 ขา ใช้แรงดันไฟ 3.3 โวลด์ ความเร็วบัสมีให้เลือกใช้ทั้งรุ่น PC66 (66 MHz), PC100 (100 MHz), PC133 (133 MHz), PC150 (150 MHz) และ PC200 (200 MHz) แต่ว่าเมื่อเทคโนลียีแรมพัฒนาขึ้นอีก SDRAM ก็มีผู้ใช้น้อยลง จนในปัจจุบัน SDRAM ถือว่าเป็น เทคโนโลยีที่เก่าไปแล้ว จะพบได้ก็แต่เพียงในคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆทั้งนั้น
1.5. DDR RAM
DDR RAM ย่อมาจาก Double Data Rate RAM หรือชื่อเต็มคือ Double Data Rate Random-Access Memoryถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลระหว่างโปรแกรมคอมพิวเตอร์และหน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์ หรือ CPU (Central Processing Unit) ดังนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มี DDR RAM มาด้วย ก็จะสามารถทำงานได้เร็วกว่าคอมพิวเตอร์รุ่นเดียวกันที่ติดตั้ง RAM ชนิดปกติมาให้
1.6. Single-channel memory
  Single-channel เป็นการใช้งาน ramเพียง 1 ตัวเก็บข้อมูลลงบนแรมทำให้การเก็บข้อมูลใส่แรมและการเรียกข้อมูลออกมาใช้ทำได้ค่อนข้างเร็วเพราะมีช่องทางเดียว
1.7. Dual channel memory

dual channel เป็นการใช้งาน ram 2 ตัวพร้อมกันโดยแยกเก็บข้อมูลลงบนแรมทั้ง2ตัวทำให้การเก็บข้อมูลใส่แรมและการเรียกข้อมูลออกมาใช้ทำได้เร็วขึ้นเพราะมีช่องทางเพิ่มเป็น2ช่อง
1.8 การติดตั้ง RAM

การติดตั้งแรมแบ่งการติดตั้งออกตามชนิดของแรมดังนี้
1. ติดตั้ง EDO DRAM ในการติดตั้งแรมรุ่นนี้กระทาได้โดยการเสียบในสล๊อตตรงๆพลาสติกตัวล๊อกจะงับขอบของแรมโดยอัตโนมัติหรือบางรุ่นจะต้องวางแบบตะแคงก่อนแล้วผลักให้ตรงๆจะมีแขนพลาสติกเป็นตัวล๊อกเข้ากับช่องเล็กๆบนแรมทั้ง2ข้าง
2. ติดตั้งSDRAM ในการติดตั้งแรมรุ่นนี้กระท าได้โดยการเสียบในสล๊อตแบบ DIMM จะมีแขนล๊อคพลาสติกทีปลายทั้งสองข้างงับอยู่ เวลาติดตั้งให้ง้างทั้ง 2 ข้างออกก่อนแล้วจึงน าแรมกดลงในสล๊อตของแรมตรงๆแขนล๊อคจะกระดกกลับมาล๊อคปลายทั้ง2 ข้างของแรม



 
2. กราฟิกการ์ด
2.1 ชื่อเรียกอื่นๆของกราฟิกการ์ด
การ์ดจอ มีเชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษที่ค่อนข้างเยอะ ยกตัวอย่างเช่น Video Card, Display Card, Graphic Adapter, Graphics Card, Video Card, Video Board, Video Display Board, Display Adapter, Video Adapter, etc.
2.2 หลักการทำงานของกราฟิกการ์ด
การ์ดจอ VGA หลักการทำงานมีหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณ digital ให้เป็นสัญญาณภาพ โดยมี Chip เป็นตัวหลักในการประมวลการแปลงสัญญาณ ส่วนภาพนั้น CPU เป็นผู้ประมวลผล แต่ปัจจุบัน เทคโนโลยีการประมวลผลภาพนั้น VGA card เป็นผู้ประมวลผลเองโดย Chip นั้นได้เปลี่ยนเป็น GPU (Graphic Processing Unit) ซึ่งจะมีการประมวลภาพในตัว Card เองเลย เทคโนโลยีนี้เป็นที่แพร่หลายมากเนื่องจากราคาเริ่มปรับตัวต่ำลงมาจากเมื่อก่อนที่เทคโนโลยีนี้เพิ่งเข้ามาใหม่ๆ โดย GPU ค่าย Nvidia เป็นผู้ริเริ่มการลุยตลาดหลักการทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ ซีพียูเมื่อซีพียูประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็วการแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร
2.3 ตัวประมวลผลกราฟิกการ์ด (GPU)
Graphics Processing unit (GPU) สามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งได้คือ visual processing unit  (VPU) ซึ่ง GPU มีได้ทั้งที่เป็น การ์ด หรือเป็นส่วนหนึ่งของแผงเมนบอร์ดก็ได้แต่ในปัจจุบันการ์ดแสดงผลส่วนใหญ่อยู่ในรูปของการ์ด  หน้าที่หลักของ GPU ก็คือช่วยในการประมวลการทำงานในด้านภาพกราฟฟิกบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นหลักการทำงานก็คล้ายกับ CPU แต่จะแตกต่างกันตรงที่ การ์ดแสดงผลสมัยเก่า ทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิตอลเป็นสัญญาณเท่านั้น แต่จากกระแสความนิยมของการ์ดเร่งความเร็วสามมิติ ในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 90 โดยบริษัท 3dfx และ nVidia ทำให้เทคโนโลยีด้านสามมิติพัฒนาไปมาก ปัจจุบันการ์ดแสดงผลสมัยใหม่ได้รวมความสามารถในการแสดงผลภาพสามมิติมาไว้เป็นมาตรฐาน และได้เรียกชื่อใหม่ว่า GRAPHICS PROCESSING UNIT โดยสามารถลดงานด้านการแสดงผลของของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ได้มาก
2.4 หน่วยความจำของกราฟิกการ์ด
การ์ดแสดงผลหรือการ์ดจอที่เราเรียกติดปากกันนั้น มีส่วนหนึ่งที่เป็นตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการ์ดแสดงผลก็คือ ความเร็วของหน่วยความจำ (RAM) บนการ์ดแสดงผล เพราะชิปกราฟิกจะต้องติดต่อกับหน่วยความจำตลอดเวลา และการประมวลผลกราฟิกต่างๆ นั้นต้องใช้พื้นที่จำนวนมาก ดังนั้น การ์ดแสดงผลที่มีแรมจำนวนมาก และทำงานได้รวดเร็วจะส่งผลการ์ดแสดงผลสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
2.5 มาตรฐานช่องติดตั้งการฟิกการ์ด
PCI Expressเป็นมาตรฐานของระบบบัสแบบใหม่ที่ใช้วิธีการรับส่งข้อมูลกันในแบบอนุกรม (Serial) สองทิศทางทั้งไปและกลับ ซึ่งถูกออกแบบให้เลือกใช้ความเร็วมากน้อยได้ตามต้องการของอุปกรณ์แต่ละชนิด และยังให้แบนด์ดิวธ์ (Bandwidth) เพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว โดยมาตรฐานเริ่มต้นคือ PCI Express x1 (นำมาใช้แทน PCI เดิม) ให้แบนด์วิดธ์ทั้งไปและกลับรวมกันสูงสุด 500 MB/sec แต่สำหรับมาตรฐานล่าสุดที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันคือ PCI Express x16 (ใช้แทน AGP เดิม) นั้น ให้แบนด์วิดธ์ทั้งไปและกลับรวมกันสูงสุดมากถึง 8000 MB/sec หรือ 8 GB/sec เลยทีเดียวนอกจากนี้บนเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆหลายรุ่นยังรองรับเทคโนโลยี SLI(Scalable Link Interface multi-GPU Technology) โดยมีการติดตั้งสล็อตแบบ PCI Express x16 นี้มาให้พร้อมกันถึง 2 ตัวเพื่อช้วยเพิ่มประสิทภาพในการประมวลผลกราฟิกให้สูงขึ้นอีกด้วย
2.6 การวัดประสิทธิภาพของการฟิกการ์ด
คือ การวัดประสิทธิภาพของการ์ดจอว่าทำงานได้ดีขนาดไหน ประมวลผลได้ดีหรือไม่ และการ์ดจอทำงานเต็มที่หรือไม่


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://sites.google.com/site/history0display0card/home

  
 
  

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เครื่องพิมพ์แบบต่างๆ

เครื่องฉายแสงโปรเจคเตอร์