สแกนเนอร์

จำทำโดยนายพลวัต เทพศร รหัสนักศึกษา6031280058

Scanner
หน้าที่หลักของเครื่องสแกนเนอร์ คือการแปลงสัญญาณภาพให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า โดยการสแกนภาพหรือตัวอักษรที่อยู่ในเอกสาร เสร็จแล้วบันทึกเป็นข้อมูลทางดิจิตอลลงในสื่อบันทึกของเครื่องคอมพิวเตอร์
สามารถใช้สแกนเนอร์ทำงานต่างๆได้ดังนี้
• ในงานเกี่ยวกับงานศิลปะหรือภาพถ่ายในเอกสาร
• บันทึกข้อมูลลงในเวิร์ดโปรเซสเซอร์
• FAX เอกสาร ภายใต้ดาตาเบส และ เวิร์ดโปรเซสเซอร์
• เพิ่มเติมภาพและจินตนาการต่าง ๆ ลงไปในผลิตภัณฑ์สื่อโฆษณาต่าง ๆ
สแกนเนอร์แบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ
1. แบบเลื่อนกระดาษ (Sheet-fed scanner)

สแกนเนอร์แบบนี้จะรับกระดาษแล้วค่อย ๆ เลื่อนหน้ากระดาษแผ่นนั้นให้ผ่านหัวสแกนซึ่ง อยู่กับที่ ข้อจำกัดของสแกนเนอร์ แบบเลื่อนกระดาษ คือสามารถอ่านภาพที่เป็นแผ่นกระดาษได้เท่านั้น ไม่สามารถ อ่านภาพจากสมุดหรือหนังสือได้
2. แบบแท่นนอน (flatbed scanner)

สแกนเนอร์แบบนี้จะมีกลไกคล้าย ๆ กับเครื่องถ่ายเอกสาร เราแค่วางหนังสือหรือภาพไว้ บนแผ่นกระจกใส และเมื่อทำการสแกน หัวสแกนก็จะเคลื่อนที่จากปลายด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ข้อจำกัดของสแกนเนอร์ แบบแท่นนอนคือแม้ว่าอ่านภาพจากหนังสือได้ แต่กลไกภายในต้องใช้ การสะท้อนแสงผ่านกระจกหลายแผ่น ทำให้ภาพมีคุณภาพไม่ดีเมื่อเทียบกับแบบแรก
3. แบบมือถือ (Hand-held scanner)

สแกนเนอร์แบบนี้ผู้ใช้ต้องเลื่อนหัวสแกนเนอร์ไปบนหนังสือหรือรูปภาพเอง สแกนเนอร์ แบบมือถือได้รวม เอาข้อดีของสแกนเนอร์ ทั้งสองแบบเข้าไว้ด้วยกันและมีราคาถูก เพราะกลไกที่ใช้ไม่ สลับซับซ้อน แต่ก็มีข้อจำกัด ตรงที่ว่าภาพที่ได้จะมีคุณภาพแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอ ในการเลื่อนหัวสแกนเนอร์ของผู้ใช้งาน นอกจากนี้หัวสแกนเนอร์แบบนี้ยังมีหัวสแกนที่มีขนาดสั้น ทำให้ อ่านภาพบนหน้าหนังสือขนาดใหญ่ได้ไม่ครบ 1 หน้า ทำให้ต้องอ่านหลายครั้งกว่าจะครบหนึ่งหน้า ซึ่งปัจจุบันมีซอฟต์แวร์หลายตัว ที่ใช้กับสแกนเนอร์ แบบมือถือ ซึ่งสามารถต่อภาพที่เกิดจากการสแกนหลายครั้งเข้าต่อกัน

บาร์โค้ด

 
ระบบบาร์โค้ดหมายถึงการใช้สัญลักษณ์บาร์โค้ดบ่งชี้ไปยังข้อมูลตัวเลขหรือตัวอักษร และประยุกต์ต่อยอดโดยการนำตัวเลขหรือตัวอักษรเหล่านั้นบ่งชี้ไปยังสิ่งต่างๆ เช่น สินค้า (Product), วันหมดอายุ (Expiration date), รหัสเฉพาะสินค้า (Serial number), บุคคล (Person), URL Website เป็นต้น
บาร์โค้ดมีกี่ประเภท
1D Barcode (1 Dimension Barcode) : หมายถึงบาร์โค้ดหนึ่งมิติ ที่ใช้หลักการเข้ารหัสเลขฐานสอง (Binary codes) โดยความหนาของแท่งสีดำกับแท่งสีขาวในบาร์โค้ดจะเป็นตัวบ่งชี้ไปยังข้อมูลตัวเลขที่กำกับไว้ด้านล่างของบาร์โค้ด เทคโนโลยีเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่เหมาะสำหรับการอ่านบาร์โค้ดหนึ่งมิติได้แก่ Laser และ Linear ลักษณะของการนำบาร์โค้ดหนึ่งมิติไปประยุกต์ใช้คือการนำข้อมูลตัวเลขในบาร์โค้ดบ่งชี้ไปยังข้อมูลของสินค้าชนิดนั้นๆ เช่น บาร์โค้ดรหัส 000001 ใช้แทนสินค้า A , บาร์โค้ดรหัส 000002 ใช้แทนสินค้า B เป็นต้น
2D Barcode (2 Dimension Barcode) : หมายถึงบาร์โค้ดสองมิติ ถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้พื้นฐานหลักการเดียวกันกับบาร์โค้ดหนึ่งมิติ บาร์โค้ดหนึ่งมิติมีลักษณะการแทนข้อมูลที่เป็นตัวเลขเท่านั้น แต่สำหรับบาร์โค้ดสองมิติจะสามารถบ่งชี้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรได้ นอกจากนั้นบาร์โค้ดสองมิติจะสามารถจุข้อมูลได้มากกว่าบาร์โค้ดหนึ่งมิติ รูปแบบของบาร์โค้ดสองมิติที่นิยมใช้โดยทั่วไปคือ QR-Code พัฒนาขึ้นโดยประเทศญี่ปุ่นนิยมใช้ในการเก็บข้อมูลที่มีทั้งตัวเลขและตัวอักษรรวมกันเช่น URL Website , ID Line เป็นต้น และ Data Matrix พัฒนาโดยประเทศสหรัฐอเมริกานิยมใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์ ที่ต้องการบาร์โค้ดขนาดเล็กและสามารถจุข้อมูลได้มาก เทคโนโลยีเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่เหมาะสำหรับการอ่านบาร์โค้ดสองมิติได้แก่ Array Imager ที่สามารถอ่านได้ทั้งบาร์โค้ดหนึ่งมิติและบาร์โค้ดสองมิติ
เกล็ดความรู้
ในกรณีส่งออกต่างประเทศ จำเป็นจะต้องลงทะเบียนบาร์โค้ดกับ สถาบันรหัสสากล (GS1) เพื่อขอรับรหัสของบาร์โค้ดที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของประเทศและบริษัทนั้นๆ ซึ่งบาร์โค้ดที่เป็นมาตรฐานสำหรับประเทศไทยได้แก่ EAN-13 ซึ่งจะสามารถจุข้อมูลเลขได้ 13 หลัก โดย GS1 จะเป็นผู้กำหนดตัวเลขใน 8 หลักแรก ซึ่งแบ่ง 3 หลักแรกเป็นรหัสประเทศ ประเทศไทยนั้นจะเป็นรหัส 885 ตัวเลข 5 หลักถัดมาจะเป็นรหัสบริษัทที่ทาง GS1 กำหนดให้แต่ละบริษัทจะได้เลขรหัสไม่เหมือนกัน ตัวเลข 4 หลักต่อมาจะเป็นรหัสสินค้าที่แต่ละบริษัทสามารถเป็นคนกำหนดด้วยตัวเองได้ และหลักสุดท้ายจะเป็นเลขที่ถูกสร้างขึ้นโดยอัตโนมัติเพื่อเช็คว่าเลข 12 หลักแรกนั้นถูกต้อง
ขั้นตอนการทำงานของเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด
 
การจะพิมพ์บาร์โค้ดขึ้นมาได้แต่ละชิ้นนั้น แน่นอนว่าต้องอาศัยอุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดและอย่างที่รู้ ๆ กันว่าเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดในปัจจุบันมีอยู่หลากหลายยี่ห้อด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด GoDEX เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด TSC, เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด Zebra เป็นต้น
ในบทความนี้ เราจะมาดูกันว่าเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด อย่างเช่น เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด GoDEX นั้น มีหลักการทำงานอย่างไรและเครื่องมีขั้นตอนอย่างไร กว่าที่จะพิมพ์บาร์โค้ดชิ้นหนึ่ง ๆ ออกมาได้ ก่อนอื่น เราต้องแยกเรื่องของการพิมพ์บาร์โค้ดกับเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ออกจากกันให้ได้ก่อน ถ้าเป็นเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดจะหมายความถึง ตัวเครื่องพิมพ์ที่ประกอบด้วยโครง หัวพิมพ์ แท่นบรรจุหมึก ปลั๊กเสียบ เป็นต้น แต่การจะพิมพ์บาร์โค้ดให้ออกมาได้นั้น ไม่ใช่ว่า มีแค่เครื่องพิมพ์อย่างเดียวก็สามารถพิมพ์ได้ จำเป็นต้องมีอุปกรณ์สำหรับป้อนคำสั่งเข้าไปที่เครื่องพิมพ์ที่เรียกกันว่า คอมพิวเตอร์ อยู่ด้วย พูดง่าย ๆ การพิมพ์บาร์โค้ดจะต้องประกอบด้วย เครื่องพิมพ์+คอมพิวเตอร์ นั่นเอง หลายคนที่อ่านมาถึงตรงนี้ อาจจะสงสัยว่าทำไมจะต้องกล่าวถึงคำนิยามพวกนี้ด้วยล่ะ ขอตอบว่า เพราะเราจะได้นำคำนิยามเหล่านี้ ไปใช้อธิบายขั้นตอนการทำงานของเครื่องพิมพ์ให้เห็นภาพได้ชัดขึ้นนั่นเอง เอาละ กลับมาเข้าเรื่องขั้นตอนการพิมพ์ต่อ อย่างที่บอกไปว่าจุดเริ่มต้นที่ทำให้เครื่องสามารถพิมพ์บาร์โค้ดได้ ก็คือ ต้องมีการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์อย่างถูกต้องเสียก่อน ซึ่งวิธีการเชื่อมต่อจะทำผ่านไดรฟ์เวอร์เครื่องพิมพ์ที่ติดตั้งลงในคอมพิวเตอร์ อย่างถ้าเราจะใช้เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด GoDEX ก็ต้องลงไดรฟ์เวอร์ของ GoDEX เท่านั้น ซึ่งไดรฟ์เวอร์ของเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด GoDEX สามารถใช้งานได้บนระบบปฏิบัติการทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น Windows, Mac และ Linux เมื่อเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว ทีนี้ เราก็จะสามารถสั่งพิมพ์บาร์โค้ดได้ เริ่มจากต้องเปิดไฟล์บาร์โค้ดขึ้นมาบนคอมพิวเตอร์ก่อน จากนั้นก็คลิกที่คำสั่ง Print ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็จะส่งคำสั่งไปที่เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดและเครื่องพิมพ์ก็จะทำการพิมพ์งานบาร์โค้ดออกมาอย่างรวดเร็ว โดยหลักการพิมพ์ของเจ้าเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด GoDEX จะใช้หลักการเดียวกับเครื่องพิมพ์เลเซอร์ คือ การอัดผงหมึกลงบนกระดาษแล้วอบด้วยความร้อน ทำให้งานบาร์โค้ดที่ได้ออกมามีความคมชัดและสามารถนำไปใช้งานได้จริง ไม่มีปัญหาการลอก ละลายหรือซีดจาง ของหมึกบนบาร์โค้ด จนเครื่องอ่านบาร์โค้ดไม่สามารถอ่านได้อย่างแน่นอน ทั้งหมดที่กล่าวมา ก็คือ หลักการและขั้นตอนการทำงานของเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดจากยี่ห้อ GoDEX จากนี้ก็ได้แต่หวังว่าผู้ที่อ่านบทความนี้จบจะเห็นว่าเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด GoDEX มีวิธีการทำงานที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้ได้จริง และสามารถพิจารณาเลือกเอา เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด GoDEX ไปเป็นหนึ่งในตัวเลือก สำหรับเลือกซื้อเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดไปไว้ใช้งานในบริษัท องค์กรของตนเอง



 เครื่องคิดเงินร้านค้า


บันทึกรายการสินค้าด้วย BARCODE หรือ PLU ได้สูงสุด 5000 รายการ
กำหนดแผนกได้ 99 แผนก (DEPARTMENT)
รองรับภาษาไทยสมบูรณ์แบบ
เหมาะสำหรับร้านอาหาร และร้านค้าปลีกทั่วๆไป
ระบบการขายสินค้าด้วยปุ่มเดียว 216 ปุ่ม (DIRECT PLU)
มีจอภาพเรืองแสงชนิด LED ขนาดใหญ่ ด้านแคชเชียร์ จำนวน 2 บรรทัด
มีจอแสดงยอดเงินสำหรับลูกค้า (POP-UP CUSTOMER DISPLAY)
สามารถบันทึกชื่อสินค้า (PLU) และแผนก (DEPARTMENT) ได้ 16 ตัวอักษร
สามารถบันทึกยอดขายจากพนักงานเก็บเงินได้ 15 คน
สามารถรองรับระบบพักโต๊ะได้ 200 โต๊ะ
รองรับระบบ เปิดโต๊ะ, พักโต๊ะ, ย้ายโต๊ะ, รวมโต๊ะ
สามารถกำหนดการขายเป็นแบบ EAT IN & TAKE OUT ได้
กำหนดส่วนลด (Discount) , Service Charge และอื่นๆได้
รับการชำระได้หลายแบบ เงินสด, Credit Card, Coupon และอื่นๆ
รายงานรายวัน, รายชั่วโมง, รายเดือน และรายงานแบบกำหนดช่วงเวลาได้
สามารถรายงานสินค้าที่ขายดีได้ 50 อันดับ เพื่อบริหารข้อมูลในการสั่งสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สามารถต่อกับ Computer, Scanner และ Modem ได้
สามารถต่อกับ Slip Printer & Kitchen Printer ได้
สามารถใช้ CF CARD (Compact Flash) เพื่อเก็บข้อมูลต่างๆและยอดขายทั้งหมด
สามารถตัด Stock สินค้าได้ทันที ณ.จุดขายและแจ้งเตือนเมื่อสินค้าใกล้หมด
มีปุ่ม HELP KEY เพื่อแนะนำการโปรแกรมที่ใช้งานบ่อยๆ
โปรแกรมให้พิมพ์ชื่อร้านค้าบนหัวใบเสร็จรับเงินได้ 12 บรรทัด
วันที่ เดือน ปี และเวลา เปลี่ยนโดยอัตโนมัติ
แสดงหมายเลขบนใบเสร็จรับเงินและม้วนสำเนาทุกครั้งที่ใช้เครื่อง
สามารถบันทึกคำว่า TAX INV (ABB) หรือคำว่า TAX INVOICE (ABB) ไว้ในใบกำกับภาษีได้
รองรับระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม และกำหนดอัตราภาษีได้ 10 อัตรา
สามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร
มีลิ้นชักเก็บเงินเปิดโดยอัตโนมัติ เมื่อมีการรับเงิน
ระบบ 2 หัวพิมพ์ ใบเสร็จลูกค้า และม้วนสำเนา ระบบพิมพ์แบบหัวเข็ม (DOT MATRIX)
ความเร็วในการพิมพ์ 3 บรรทัดต่อวินาที ใช้กระดาษขนาด 45 ม.ม. จำนวน 2 ม้วน
เครื่องบันทึกการเก็บเงินเป็นชนิดไฟฟ้า มีหน่วยความจำเป็น RAM
มีระบบสำรองข้อมูลการขาย 60 วัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เครื่องพิมพ์แบบต่างๆ

เครื่องฉายแสงโปรเจคเตอร์